ads

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

พรบ. การกระจายอำนาจ ชุดที่ 3

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
ชุดที่ 3

1.       พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542               (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2549  บังคับใช้ วันที่ 9 มกราคม 2550 (ฉบับที่ 1 วันที่ 18 พ.ย.2542)
2.       คณะกรรมการตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมายความว่า คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น
3.       คณะกรรมการกระจายอำนาจฯ มีทั้งหมด 36 คน
4.       นายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5.       หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเลขานุการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พรบ. การกระจายอำนาจ ชุดที่ 2

พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2542
ชุดที่ 2
1. พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2542 บังคบใช้วันที่
ก. 16 พฤศจิกายน 2542                ข. 17 พฤษภาคม 2542
ค. 18 พฤศจิกายน 2542                ง. 19 พฤษภาคม 2542

2. พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 บังคบใช้วันที่
ก. 9 มกราคม 2549                      ข. 9 มกราคม 2550
ค. 19 มกราคม 2550                     ง. 18 พฤษภาคม 2542

3. .คณะกรรมการ. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ 2542 หมายความว่า
ก. คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข. คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ค. กรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ง. กรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. ใครไม่ได้เป็นผู้รักษาการตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ 2542
ก. นายกรัฐมนตรี                                     ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม     ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

5. คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทั้งหมดกี่คน
ก. 24 คน                        ข. 30 คน
ค. 36 คน                        ง. 42 คน

พรบ. การกระจายอำนาจ ชุดที่ 1


พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
ชุดที่ 1 

1.       พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือฉบับ พ.ศ.ใด
ก.      พ.ศ. 2532
ข.      พ.ศ. 2537
ค.      พ.ศ. 2540
ง.       พ.ศ. 2542
ตอบ ง.

2.       กรรมการจากผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อใด
ก.      พ้นจาการเป็นผู้บริหารท้องถิ่น
ข.      ยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ
ค.      ไม่มีถิ่นที่อยู่ในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ
ง.       ข้อ ก. และ ข.ถูก
ตอบ ง.

3.       คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนกี่คน
ก.      5 คน
ข.      10 คน
ค.      12 คน
ง.       15 คน
ตอบ ค.

4.       การเสนอรายงานเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเสนอต่อใคร
ก.      นายกรัฐมนตรี
ข.      คณะรัฐมนตรี
ค.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง.       ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ข. ให้เสนอรายงานเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

5.       ภาษีธุรกิจเฉพาะท้องถิ่นสามารถจัดเก็บเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละเท่าใด
ก.      ร้อยละ 7
ข.      ร้อยละ 10
ค.      ร้อยละ 20
ง.       ร้อยละ 30
ตอบ ง. จัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บตามประมวลรัษฏากร โดยเป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรที่จะจัดเก็บ

พรบ. บุคคลส่วนท้องถิ่น ชุดที่ 2


mba2 -

พรบ. บุคคลส่วนท้องถิ่น ชุดที่ 1


พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
ชุดที่ 1

1.       พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นฉบับปัจจุบัน คือฉบับใด
ก.      พ.ศ. 2535
ข.      พ.ศ. 2538
ค.      พ.ศ. 2542
ง.       พ.ศ. 2544
ตอบ ค.

2.       พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ใช้บังคับเมื่อใด
ก.      นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข.      นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค.      30 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง.       90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ ข.

3.       ใครรักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
ก.      นายกรัฐมนตรี
ข.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค.      นายกเทศมนตรี
ง.       ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ข.

4.       ข้อใด มิใช่ คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ก.      มีสัญชาติไทย
ข.      มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
ค.      ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ง.       ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
ตอบ ข. (มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์)

ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ชุดที่1


math1 -

ข้อสอบวิชาภาษาไทย ชุดที่ 2

ตัวอย่างข้อสอบเพื่อสอบบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ
วิชา ภาษาไทย ชุดที่ 2

1.       ข้อใดอ่านผิด
ก.      วิตถาร (วิด-ถาน)
ข.      วุฒิ (วุด-ทิ)
ค.      วัยวุฒิ (ไว-ยะ-วุด)
ง.       วณิพก (วะ-นิบ-พก)
ตอบ ค.วัยวุฒิ  ถูกต้องคือ (ไว-ยะ-วุด-ทิ)

2.       ข้อใดอ่านผิด
ก.      สตรี (สะ-ตรี)
ข.      สัตบุรุษ (สัด-บุ-หรุด)
ค.      สมรรถภาพ (สะ-มัด-ถะ-พาบ)
ง.       สมานฉันท์ (สะ-มา-นะ-ฉัน)
ตอบ  ก. สตรี อ่านถูกต้องคือ สัด-ตรี

3.       คำใดอ่านได้เพียงอย่างเดียว
ก.      ทุนทรัพย์
ข.      ภรรยา
ค.      ปรกติ
ง.       มูลค่า
ตอบ  ค.  ปรกติ                 อ่านว่า ปรก กะ ติ
            ทุนทรัพย์           อ่านว่า ทุน – ซับ หรือ ทุน – นะ – ซับ
            ภรรยา               อ่านว่า พัน – ยา หรือ พัน – ระ- ยา
            มูลค่า                อ่านว่า มูน – ค่า หรือ มูน – ละ - ค่า

4.       คำใดไม่อ่านแบบคำสมาส
ก.      รสนิยม
ข.      ภาพยนตร์
ค.      กรรมวิบาก
ง.       สมณเพศ
ตอบ ก. รสนิยม อ่านว่า รด-นิ-ยม ส่วนคำอื่น ๆ อ่านมีเสียงพยัญชนะและสระในพยางค์แรกต่อเนื่อง กับพยางค์หลัง

5.       ข้อใดอ่านตามคำนิยม
ก.      ทรชน
ข.      ราชวัง
ค.      วิษณุ
ง.       สมาธิ
ตอบ ข. ราชวัง ที่จริงคำนี้ต้องอ่านว่า ราด – วัง เพราะมิใช่คำสมาส แต่เป็นคำที่นิยมอ่านหรือคำสมาส