ads

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ


การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ

ภาค ก. หรือมีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า ภาคความรู้ความสามารถทั่วไปการสอบจะกำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ 100 คะแนน   ซึ่งจะแบ่งเนื้อหาขอบเขตของข้อสอบ ภาค ก. ได้ดังนี้

      (๑) วิชาสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมุติฐาน เช่น  การหาค่าของเลขอนุกรม , การหาร้อยละ , โจทย์เงื่อนไขทางคณิตศาสตร์ , การอ่านค่าจากตาราง กราฟ แผนภูมิ 


      (๒) วิชาภาษาไทย กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทย โดยการให้สรุปความและหรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความและให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆจากคำหรือกลุ่มคำประโยคหรือข้อความสั้น ๆ  เช่น อุปมา อุปไมย , เงื่อนไขทางภาษา , การเรียงประโยค , การเติมคำ , การตีความจากบทความยาว , คำราชาศัพท์ , สำนวน สุภาษิตไทย

      (๓) วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ กำหนดคะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน
จะทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ระเบียบงานสารบรรณ และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  เช่น ความรู้ทางด้านกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ หมวดที่ 14 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น , พระราชบัญญัติ อบจ./เทศบาล/อบต.

ภาค ข. ?

      ภาค ข. (ภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง) คือความรู้ความเข้าใจในตำแหน่งที่เราสมัครสอบ 
 ซึ่งภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง(ภาค ข) กำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ ๑๐๐ คะแนน
โดยจะทดสอบความรู้ความสามารถในทางที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่โดยเฉพาะตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนหรือวิธีสอบปฏิบัติ หรือวิธีอื่นใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้ตามความ

       เช่น ถ้าสมัครตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ก็ต้องเตรียมอ่านแล้วว่า ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร รับผิดชอบอะไรบ้าง พรบ.หรือข้อกฎหมายที่เราควรทราบ อย่างเช่น  งานพัสดุ งานสารบรรณ งานเลขานุการ งานบริหารบุคคล เป็นต้น สามารถศึกษาหน้าที่และลักษณะงานของแต่ละตำแหน่งของท้องถิ่นได้ตาม มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ของ อบจ./เทศบาล/อบต.

ภาค ค. ?

    ภาค ค. (ภาคความเหมาะสมเฉพาะตำแหน่ง) ก็คือ การสอบสัมภาษณ์ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย
ซึ่งภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) กำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ ๑๐๐ คะแนน โดยจะประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงานและพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบ จากการสัมภาษณ์ทั้งนี้หน่วยดำเนินการสอบอาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมอีกก็ได้ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จริยธรรมและคุณธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น



            การเตรียมตัวสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

       การเตรียมตัวสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นนั้น
หลักๆ ก็ต้องอ่านคล้ายๆกับการเตรียมตัวสอบภาค ก ของ ก.พ. เลยครับ

       ผู้ที่สนใจจะเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น อบจ. เทศบาล และอบต. จะต้องเข้าสู่กระบวนการสอบตามหลักเกณฑ์ข้างต้น โดยจะต้องเริ่มจากสอบภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. เรียงตามลำดับไป ซึ่งการสอบนั้น อาจจะสอบทั้ง 3 ภาคพร้อมกัน หรือแยกการสอบออกเป็นการสอบภาคใดก่อนก็ได้ โดยผู้เข้าสอบต้องอ่านระเบียบการสอบให้ดี
         การสอบทั้ง ภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. แต่ละภาคนั้นจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จากนั้นการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ หน่วยดำเนินการสอบจะเอาคะแนนภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. มารวมกัน และประกาศบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ให้ทราบต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น