ads

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

ข้อสอบวิชาภาษาไทย ชุดที่ 2

ตัวอย่างข้อสอบเพื่อสอบบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ
วิชา ภาษาไทย ชุดที่ 2

1.       ข้อใดอ่านผิด
ก.      วิตถาร (วิด-ถาน)
ข.      วุฒิ (วุด-ทิ)
ค.      วัยวุฒิ (ไว-ยะ-วุด)
ง.       วณิพก (วะ-นิบ-พก)
ตอบ ค.วัยวุฒิ  ถูกต้องคือ (ไว-ยะ-วุด-ทิ)

2.       ข้อใดอ่านผิด
ก.      สตรี (สะ-ตรี)
ข.      สัตบุรุษ (สัด-บุ-หรุด)
ค.      สมรรถภาพ (สะ-มัด-ถะ-พาบ)
ง.       สมานฉันท์ (สะ-มา-นะ-ฉัน)
ตอบ  ก. สตรี อ่านถูกต้องคือ สัด-ตรี

3.       คำใดอ่านได้เพียงอย่างเดียว
ก.      ทุนทรัพย์
ข.      ภรรยา
ค.      ปรกติ
ง.       มูลค่า
ตอบ  ค.  ปรกติ                 อ่านว่า ปรก กะ ติ
            ทุนทรัพย์           อ่านว่า ทุน – ซับ หรือ ทุน – นะ – ซับ
            ภรรยา               อ่านว่า พัน – ยา หรือ พัน – ระ- ยา
            มูลค่า                อ่านว่า มูน – ค่า หรือ มูน – ละ - ค่า

4.       คำใดไม่อ่านแบบคำสมาส
ก.      รสนิยม
ข.      ภาพยนตร์
ค.      กรรมวิบาก
ง.       สมณเพศ
ตอบ ก. รสนิยม อ่านว่า รด-นิ-ยม ส่วนคำอื่น ๆ อ่านมีเสียงพยัญชนะและสระในพยางค์แรกต่อเนื่อง กับพยางค์หลัง

5.       ข้อใดอ่านตามคำนิยม
ก.      ทรชน
ข.      ราชวัง
ค.      วิษณุ
ง.       สมาธิ
ตอบ ข. ราชวัง ที่จริงคำนี้ต้องอ่านว่า ราด – วัง เพราะมิใช่คำสมาส แต่เป็นคำที่นิยมอ่านหรือคำสมาส

6.       ข้อใดประวิสรรชนีย์ไม่ถูกต้อง
ก.      ทะวาย ทะมึน
ข.      ตะลึง ตะลีตะลาด
ค.      ขะมุกขะมอม ขะมักขะเม้น
ง.       ชะลูก ชะรอย
ตอบ ค. ผิด ที่ถูกต้องคือ (ขะมักเขม้น)

7.       ข้อใดประวิสรรชนีย์ถูกต้องทั้งหมด
ก.      พะงา  พะนอ  พะแนง
ข.      พะหุ  พะเนิน  พะยอม
ค.      พะยูน พะโล้ พะลี
ง.       พะวง พะบู  พะอง
ตอบ ก.  คำที่ผิดคือ (พะหุ ถูกต้องคือ พหุ) (พะลี ถูกต้องคือ พลี) (พะบู ถูกต้องคือ พบู)

8.       ข้อใดเขียนถูกต้องทุกคำ
ก.      สัณฐาน  หมาใน
ข.      บำเหน็จ สมโภชน์
ค.      การ์ตูน อาเจียร
ง.       เกษียณอายุ เจตนารมณ์
ตอบ ง. (หมาใน ถูกต้องคือ หมาใน ) (สมโภชน์ ถูกต้องคือ สมโภช) (อาเจียน ถูกต้องคือ อาเจียน)

9.       ข้อใดเขียนผิดทุกคน
ก.      กุมภีล์  เก๊กฮวย
ข.      ขันที  ขัณฑสกร
ค.      ปราดเปรื่อง ประดิดประดอย
ง.       ลำไย  ลิขสิทธิ์
ตอบ ค. ปราดเปรื่อง  ประดิดประดอย

10.   ข้อใดเขียนผิดทุกคำ
ก.      เกาทัณฑ์ ไกรลาส
ข.      ประนีต ประทักษิน
ค.      บัลลังก์  บาทหลวง
ง.       อานิสงส์  อำมหิต
ตอบ ข. (ประณีต ประทักษิณ)

11.   ศัพท์ใดแปลว่าการพูด
ก.      วัตร
ข.      วัทน์
ค.      วัสตร์
ง.       วัสน์
ตอบ ข.

12.   ศัพท์ข้อใดแปลว่าแสงสว่าง
ก.      วิภาช
ข.      วิภาษ
ค.      วิภาส
ง.       วิภาค
ตอบ ค.

13.   ข้อใดมีความหมายไม่เหมือนกันทุกคน
ก.      กนก   กาญจนา   สุพรรณ
ข.      วิจิตร   พิสาส   สุทัศน์
ค.      สุนทรี   ยุพดี   นนตรา
ง.       ยิหวา   หทัย   กมล
ตอบ      ค. สุนทรี , ยุพดี หมายถึง ผู้หญิง นนตรา หมายถึง ต้นกระถิน
            ก. หมายถึง  ทอง
            ข. หมายถึง งดงาม
            ค. หมายถึง ใจ

14.   ศัพท์ในข้อใดไม่เข้าพวก  
ก.      วาสุกรี
ข.      วานรินทร์
ค.      วายุภักษ์
ง.       วาลุกา
ตอบ      ง. วาลุกา แปลว่า กรวด ทราย ข้ออื่นเกี่ยวกับสัตว์ทั้งหมด
            วาสุกรี แปลว่า พญานาค
            วานรินทร์ แปลว่า ลิง
            วายุภักษ์ แปลว่า  นกในวรรณคดี

15.   ข้อใดเรียงลำดับคำได้ถูกต้องตามหลักพจนานุกรม
ก.      เขฬะ  ทรัพย์  ฉิมพลี  ปรนนิบัติ
ข.      เขฬะ  ฉิมพลี  ทรัพย์  ปรนนิบัติ
ค.      ทรัพย์ ฉิมพลี  เขฬะ ปรนนิบัติ
ง.       ฉิมพลี เขฬะ ทรัพย์  ปรนนิบัติ
ตอบ  ข.

16.   คำใดควรเรียงไว้เป็นลำดับแรกตามพจนานุกรม
ก.      สังวาส
ข.      สังเวียน
ค.      สังเวย
ง.       สังเวช
ตอบ ก.

17.   ข้อใดไม่มีคำประสม
ก.      น้ำขุ่นไว้ใน  น้ำใสไว้นอก
ข.      ใครใครก็ชอบน้ำแข็ง
ค.      อย่าลืมใส่น้ำส้มด้วยนะ
ง.       น้ำค้างกลิ้งอยู่บนใบบอน
ตอบ   ก.  ข้ออื่นคำประสมคือ น้ำแข็ง  น้ำส้ม  น้ำค้าง

18.   ข้อใดเป็นคำประสมทั้งหมด
ก.      ปลาเค็ม  สามล้อ  มดแดง  ซ่อนตัว
ข.      เผาขน  หน้าม้า  ใจเย็น  ไก่ป่า
ค.      ไม้เท้า ตู้เย็น ชาวนา ทอดไข่
ง.       นักเลง เตารีด เงินเดือน ลิ้นไก่
ตอบ ง.  คำที่ไม่ใช่คำประสม คือ   ซ่อนตัว    ไก่ป่า    ทอดไข่

19.   ข้อใดใช้ไม้ยมกผิด
ก.      ในวันหนึ่ง ๆ เราต้องใช้จ่ายมาก
ข.      ฉันซื้อนม 2 กระป๋อง ๆ ละ 10 บาท
ค.      โตแล้วนะ อย่าลืมตัวเป็นเด็กเล็ก ๆ
ง.       ทันใดนั้น เราก็ได้ยินเสียง ไฟไหม้ ๆ
ตอบ   ข.  ต้องเขียนว่า ฉันซื้อนม 2 กระป๋อง กระป๋องละ 10 บาท เพราะไม่ใช้ไม้ยมกข้ามประโยค
20.   ข้อใดเป็นภาษาบาลีสันสกฤตทุกคน
ก.      บังคม  เผอิญ  กงสี
ข.      กระโถน  ฉบับ  ประจาน
ค.      เขนย  บายศรี  กุญแจ
ง.       เรียม  แสวง  วิทยา
ตอบ ข. 
ก. ที่ไม่ใช่  คือ กงสี
ค. ที่ไม่ใช่  คือ กุญแจ
ง. ที่ไม่ใช่  คือ วิทยา

21.   ข้อใดเป็นภาษาบาลีสันสกฤตทุกคน
ก.      เกษตร  ปัญญา  นีออน
ข.      สตรี  นิตยา  เข้มขาบ
ค.      กุมาร  อาจารย์  ประกายพรึก
ง.       ไมตรี  นารายณ์  ศูนย์
ตอบ ง.  ข้ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่ คือ นีออน  เข้มขาบ  ประกายพรึก

ให้พิจารณาเติมคำให้ถูกต้อง
            ภาษาไทยนับว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญที่สุด …..22… แสดงให้เห็นความเป็นไทยของเรา ภาษไทยมีภาษพูด ..23…ภาษาเขียน…24…ภาษาเขียนนั้นได้มีภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนอยู่มากมาย …25…ภาษาบาลีสันสกฤษ มอญ  เขมร  จีน อาหรับ …25… ภาษาฝรั่ง ฯลฯ บางคำเราออกเสียงตามสำเนียงเดิมของเขา  บางคำเขา …26…นำมาปรับให้เข้า …26…ลิ้นของเรา

22.   ก. จึง                 ข. กับ                ค.ซึ่ง                 ง.ก็
ตอบ ค.

23.   ก. อีก                 ข.ทั้ง                  ค. ด้วย               ง.และ
ตอบ ง.

24.   ก. เพราะฉะนั้น               ข. อีกทั้ง             ค. ตลอดจน                    ง.โดยเฉพาะ
ตอบ ง. แสดงความเจาะจง

25.   ก. ทั้ง.....กับ                     ข. ทั้ง....และ                    ค.ทั้ง....อีก                      ง. ทั้ง.....ด้วย
ตอบ ข. เชื่อมความเข้าด้วยกัน

26.   ก. ก็....ด้วย                      ข.ก็....กับ                        ค. ก็....โดย                      ง. ก็.....แต่
ตอบ ข. คำเชื่อมที่เกี่ยวข้องกัน

27.   ร้านขายอาหารบางแห่ง.........ขายอาหารบางชนิดที่ต้องเก็บไว้นาน ๆ ...........หมู่ยอ  แหนม  พริกดอง..........อาหารหมักดองต่าง ๆ
ก.      จะ....ได้แก่....ซึ่ง
ข.      ต้อง...ได้แก่...คือ
ค.      จึง....เช่น.....ด้วย
ง.       อาจ....เช่น....หรือ
ตอบ ง.

28.   .........ให้ผู้ใช้สามารถใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้อย่างถูกต้องตรงกัน.......มีระเบียบแบบแผน จึงควรศึกษาวิธีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนให้เข้าใจ
ก.      ทั้ง.....ก็....ดังนั้น
ข.      กับ....จึง.....เพราะฉะนั้น
ค.      และ....จึง.....เพราะ
ง.       ตลอดจน....ต้อง.....เพื่อ
ตอบ ค. ข้อความเป็นเหตุผลแก่กัน

29.   พระที่นั่งวิมานเมฆ ได้จัดแสดงเครื่องเงิน  ถมปัด  ธารพระกร  เครื่องกระเบื้อง  ตลอดจน งาช้าง คำที่ขีดเส้นใต้หมายถึงอะไร
ก.      กำไลมือ
ข.      ไม้เท้า
ค.      ไม้เกาลัง
ง.       พานหมาก
ตอบ ข.
 กำไลมือ  เรียก ทองพระกร
ไม้เกาหลัง เรียก นานายณ์หัตถ์
พานหมาก เรียก พานหมากเสวย

30.   เครื่องดนตรีมี ฉิ่ง กรับ โทน  รำมะนา  คำที่ขีดเส้นใต้ หมายถึงอะไร
ก.      กลองยาวสองหน้า
ข.      กลองรูปกลมแบบสองหน้า
ค.      กลองคล้ายกลองยาวหน้าเดียว
ง.       กลองรูปกลมแบบตื้นหน้าเดียว
ตอบ ง.

31.   คำที่ขีดเส้นใต้ ข้อใดใช้คำผิดความหมาย
ก.      จงอย่าทำอะไรลบรอยผู้อื่น
ข.      ตัวหนังสือลบเลือนไปหมดแล้ว
ค.      ไม่ควรแสดงอาการลบเหลี่ยมผู้มีพระคุณ
ง.       เขาพยายามทำดีเพื่อลบล้างความผิดที่ได้ทำไว้
ตอบ ค. ควรใช้ ลบหลู่

32.   สำนวนใด ไม่เข้าพวก
ก.      แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
ข.      รักยาวให้บั่น  รักสั้นให้ต่อ
ค.      สำเนียงส่อภาษา  กิริยาส่อสกุล
ง.       บัวไม่ให้ช้ำ  น้ำไม่ให้ขุ่น
ตอบ ค. ส่วนข้ออื่นๆ มีความหมายเกี่ยวข้องกับการไม่ทะเลาะวิวาทไม่ให้กระทบกระเทือนใจกัน

33.   ข้อใด ไม่สัมพันธ์กัน
ก.      กฎแห่งกรรม  -  กงเกวียนกำเกวียน
ข.      วานรได้แก้ว  -  ไก่ได้พลอย
ค.      ตัดไฟต้นลม - กันไว้ดีกว่าแก้
ง.       ขี่ช้างจับตั๊กแตน  เข็นครกขึ้นภูเขา
ตอบ ง.

34.   พลอยฟ้า  พลอยฝน  เข้ากับสำนวนใด
ก.      ต้นร้ายปลายดี
ข.      หนีเสือปะจระเข้
ค.      ปลาติดหลังแห
ง.       พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก
ตอบ ค. หมายถึง ได้เคราะห์ร่วมกับผู้อื่นทั้งที่ไม่ได้มีส่วนพัวพัน

35.   สำนวนใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น
ก.      ลิ้นตวัดถึงใบหู
ข.      ลิ้นตะกวด
ค.      ลิ้นลังกา
ง.       ลิ้นลม
ตอบ ง. หมายถึง ถ้อยคำที่คมคาย  ข้ออื่น ๆ หมายถึง คำพูที่เชื่อไม่ได้ ไม่น่าเชื่อถือ

การเรียงลำดับข้อความ

36.   จงเรียงประโยคต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ยังเป็นศิลปะอย่างหนึ่งอีกด้วย
2. การปรุงอาหารนอกจากจะเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งแล้ว
3. ดังที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้
4. สิ่งเหล่านี้สะท้อนออกมาในรูปแบบของการบริโภคที่แตกต่างกัน
ก. 1  2  3  4                    ข. 2  3   4   1                  ค. 2  1   4  3                   ง. 3  2  4  1 
ตอบ ค.
37.   ข้อความใดควรเรียงไว้เป็นลำดับแรก
1.       มันก็จะผละออกจากกันโดยตัวเมียมีสิทธิ์จะถ่ายไข่ให้ม้าน้ำหนุ่มตัวอื่นต่อไป
2.       ม้าน้ำผู้เมียจะเอาท้องชนกันอยู่จนกระทั่งแม่ม้าน้ำจะถ่ายไข่ออกหมด
3.       เพราะคำว่า ชู้ ไม่ได้มีบัญญัติไว้ในภาษาของพวกมันแต่อย่างใด
4.       ในกรณีที่ไข่ครอกนั้นมีจำนวนมาก จนถุงหน้าท้องม้าน้ำตัวผู้รับไม่หมด
ก. ข้อ 1              ข. ข้อ 2              ค. ข้อ 3              ง. ข้อ 4
ตอบ ข.

38.   ข้อความใดควรเรียงลำดับไว้เป็นลำดับสุดท้าย
1.       มีผลเป็นควันตลบอยู่
2.       การจะแลเห็นความบริสุทธิ์แห่งจิต ย่อมเป็นไปไม่ได้
3.       ควันนั้นจักบดบังความประภัสสรแห่งจิต
4.       ริษยาเป็นไฟทำให้ใจร้อนใจไหม้
ก. ข้อ 4              ข. ข้อ 3              ค. ข้อ 2              ง. ข้อ 1
ตอบ ค.

39.   ประโยคใดมีความหมายกำกวมที่สุด
ก.      รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
ข.      เรื่องนี้ยังตกลงกันไม่ได้
ค.      เขาเห็นกงจักรเป็นดอกบัว
ง.       ที่นี่รับแก้เสื้อสตรี
ตอบ ง. แก้เสื้อ อาจหมายถึง ซ่อมให้ดี หรืออาจหมายถึง ถอดก็ได้

40.   ประโยคใดมีความหมายชัดเจน
ก.      ดิฉันขอกราบเรียนเชิญค่ะ
ข.      ข้าพเจ้าจึงนำมาแสดงให้ชมกัน
ค.      ความหมายของคำย่อมผันแปรอยู่เนืองนิจ
ง.       วิทยาชอบมากที่สุดในโลก
ตอบ   ค.
            ก. ไม่ทราบว่าเชิญใคร
            ข. ไม่ทราบว่านำอะไรมาแสดง
            ง. ไม่ทราบว่าชอบอะไร

41.   ประโยคใดเมื่อเน้นเสียงที่คำต่างกัน จะให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป
ก.      เรือนรกไม่น่าดู
ข.      ฉันชอบกินขนม
ค.      เขาไปไม่ได้จริง ๆ
ง.       ป้าสายหยุดหายใจ
ตอบ ง. ป้าสาย/หยุดหายใจ หรือ ป้าสายหยุด/หายใจ

42.   ประโยคใดเมื่อเน้นเสียงที่คำต่างกัน จะให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป
ก.      สวัสดีเธอจ๋า
ข.      ไปไหนกันมา
ค.      หน้าตาเศร้าหมอง
ง.       เขามองคุณครู
ตอบ ค. อาจหมายถึง หน้าตา/เศร้าหมอง หน้าตา คือใบหน้า หรือ หน้า/ตาเศร้าหมอง หน้าตา คือ หน้าของคุณตา

43.   ประโยคใดผิดหลักไวยกรณ์
ก.      วิทยาวิ่งพรวดพราดอย่างรีบร้อนไปขึ้นรถ
ข.      วิทยาวิ่งพรวดพราดไปขึ้นรถอย่างรีบร้อน
ค.      วิทยาวิ่งอย่างรีบร้อนไปขึ้นรถพรวดพาด
ง.       ถูกหมดทุกข้อ
ตอบ ค. คำขยายจะอยู่ห่างจากคำที่ถูกขยายไม่ได้ จะทำให้เสียความหมาย พรวดพราด ขยาย วิ่ง

เป็นชายความรู้ยิ่ง                        เป็นทรัพย์
ทุกประเทศมีผู้นับ                        อ่านอ้าง
สตรีรูปงามสรรพ            เป็นทรัพย์  ตนนา
แม้ตกยากไร้ร่าง                          ห่อนไร้สามี

44.   คำประพันธ์นี้กล่าวถึงเรื่องใด
ก.      ความรู้
ข.      ทรัพย์สินเงินทอง
ค.      สามีภรรยา
ง.       ชายและหญิง
ตอบ ง.

45.   โคลงบทสุดท้ายหมายความว่าอย่างไร
ก.      แม้มีความยากจนอย่างไร ก็ย่อมหาสามีคุ้มครองได้
ข.      ถ้าหาสามีคุ้มครองไม่ได้ ย่อมมีความทุกข์ยาก
ค.      แม้มีความทุกข์ยากเพียงใด ก็ควรมีสามี
ง.       หญิงไร้สามีย่อมมีความทุกข์ยาก
ตอบ ก.

……………………………………………………….


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น