ads

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

เทคนิคการเตรียมตัวสอบบรรจุเป็นข้าราชการ

เทคนิคการเตรียมตัวสอบบรรจุเป็นข้าราชการ

 1. เตรียมตัวอย่างไรให้พร้อมสำหรับการสอบ 
1.1 จัดหาเอกสารหรือหนังสือสำหรับเตรียมสอบ วิธีการหาหนังสือหรือเอกสารเตรียมสอบ มีดังนี้
  • หนังสือหรือเอกสารมีเนื้อหาที่ตรงตามหลักสูตรสอบแข่งขันฯ
  • เลือกหนังสือทั้งที่เป็นเนื้อหาโดยละเอียด เนื้อหาสรุปและหรือหนังสือที่เป็นแบบฝึก
  • ควรเลือกหนังสือภาคความรู้ทั่วไป พร้อมทั้งมีตัวอย่างแบบฝึกและข้อสอบ
  • หนังสือรวมข้อสอบฯ หรือหนังสือที่มีตัวอย่างข้อสอบให้ฝึกทำ ก็เป็นสิ่งจำเป็นควรมีไว้เพื่อฝึกทักษะการทำข้อสอบ เพื่อเป็นการทบทวนความรู้

การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ


การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ

ภาค ก. หรือมีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า ภาคความรู้ความสามารถทั่วไปการสอบจะกำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ 100 คะแนน   ซึ่งจะแบ่งเนื้อหาขอบเขตของข้อสอบ ภาค ก. ได้ดังนี้

      (๑) วิชาสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมุติฐาน เช่น  การหาค่าของเลขอนุกรม , การหาร้อยละ , โจทย์เงื่อนไขทางคณิตศาสตร์ , การอ่านค่าจากตาราง กราฟ แผนภูมิ 

วิธีทำข้อสอบภาษาไทย

บทความสั้น   ดูกลุ่มคำที่สำคัญดังนี้


1.       ถามประโยคสำคัญดูคำต่อไปนี้  ทำให้  ปรากฏ  เกิดขึ้น  เกิดจาก  บรรลุผล  สำเร็จตามเป้าหมาย  แต่  หรือคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำเหล่านี้      (ทำให้ + ประโยคสำคัญ)   กรณีที่บทความสั้นมีคำกริยาสำคัญอยู่หลายคำที่ซ้ำกันให้ดูกริยาตัวสุดท้าย เช่นถ้ามีคำว่าทำให้อยู่หลายตัว ให้ดูคำว่าทำให้ตัวสุดท้าย  (ถ้าในบทความมีคำว่า “เพราะ” มากกว่าหนึ่งคำให้ดูคำว่า “เพราะ”   ตัวแรก  ถ้ามีคำว่า “ทำให้” หรือกริยาสำคัญตามข้อ 1 นี้ ให้ดูคำว่า ”ทำให้” หรือ กริยาสำคัญ ตัวสุดท้าย  ถ้ามีคำว่า ”เพราะ” และคำว่า “ทำให้” อยู่ในบทความเดียวกันให้ดูคำว่า “ทำให้” หลังคำพวกนี้คือคำตอบ

ความสามารถทางด้านเหตุผล

ความสามารถทางด้านเหตุผล

แนวข้อสอบอุปมาอุปมัย

1.       ศาล : ความยุติธรรม                .......  :  …….
ก.ทนายความ ลูกความ                           ข.อัยการ : โจทก์
ค.วุฒิสภา : ส.ส.                                      ง.รัฐสภา : กฎหมาย
ตอบ ง.รัฐสภา : กฎหมาย

2.       รัสเซีย : หมีขาว                           .......  :  …….
ก.แคนนาดา : นกอินทรีย์                          ข.สิงคโปร์ : ปลาโลมา
ค.ออสเตเลีย : จิงโจ้                                  ง.ญี่ปุ่น : สิงโต
ตอบ ค.ออสเตเลีย : จิงโจ้  

3.       กระดานดำ : ชอล์ก                         .......  :  …….
ก.ปากกาเคมี : ไวท์บอร์ด                          ข.กระดาษ : ดินสอ
ค.ดิสเก็ต : โปรแกรมเมอร์             ง. บทกลอน : กวี
ตอบ ข.กระดาษ : ดินสอ

4.       ไฟฉาย : ลูกเสือ                           .......  :  …….
ก.ตะเกียง :  ทหาร                                   ข.ประภาคาร : เรือดำน้ำ
ค.เรดาร์ :  เครื่องบิน                                 ง.ไต้ : ชาวเขา
ตอบ ง.ไต้ : ชาวเขา

5.       ประทุน :  เรือแจว                        .......  :  …….
ก.หลังคา : เสา                                        ข.ใบไม้ : ต้นไม้
ค.ร่ม : คน                                              ง.โบสถ์ : พระภิกษุ
ตอบ ค.ร่ม : คน

สรุปเหตุผลทางการเมือง

แนวข้อสอบเก่า ภาค ก. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง

1.       ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ข้อใด ไม่ใช่ ราชการส่วนท้องถิ่น
ก.องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)                      ข. ตำบล  และหมู่บ้าน
ค. กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา                       ง. เทศบาล
ตอบ ข. (เป็นหน่วยงานที่รองลงไปจากอำเภอ ซึ่งอำเภอเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค)

2.       พื้นที่ตำบลใดที่ปกครองโดยองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ต่อมาเมื่อมีประชากรหนาแน่น และมีความเจริญในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทางราชการจะต้องยกฐานะให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่นแบบใด
ก.เทศบาลตำบล                           ข. เทศบาลเมือง              
ค.สุขาภิบาล                                ง.องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
ตอบ ก. (จาก องค์การบริหารส่วนตำบล ไปเป็นเทศบาลตำบล  เทศบาลเมือง  เทศบาลนคร ตามลำดับ)

3.       การบริหารราชการแผ่นดินของไทยประเภทใด กฎหมายให้อำนาจคณะรัฐมนตรีเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
ก. ระเบียบบริหาราชการส่วนกลาง             ข. ระเบียบบริหาราชการส่วนภูมิภาค
ค. ระเบียบบริหาราชการส่วนท้องถิ่น                      ง. ระเบียบบริหารราชการรัฐวิสาหกิจ
ตอบ ค. (ระเบียบบริหาราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการกระจายอำนาจการบริหารและการปกครองให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นของตน)

ความสามารถทั่วไป ชุด 2

ข้อสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป

                                                                        ชุดที่ 2

1.      สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนมีจำนวนกี่คน
            ก  80  คน
            ข  100  คน
            ค  150  คน
            ง  200  คน

2. วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
            ก  80  คน
            ข  100  คน
            ค  150  คน
            ง  200  คน

3    ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียน
บ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันถึงวันสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากี่ปี
            ก  1  ปี
            ข  2  ปี
            ค  3  ปี
            ง  5  ปี

4          ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาต้องมีอายุไม่น้อยกว่ากี่ปี
            ก  25  ปี
            ข  30  ปี
            ค  35  ปี
            ง  40  ปี

5          คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีกจำนวนไม่เกินกี่คน
            ก  29  คน
            ข  30  คน
            ค  35  คน
            ง  36  คน

ความสามารถทั่วไป ชุด 1

ข้อสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป

                                                                        ชุดที่ 1

1.      ทุกสิ้นปีงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องกันยอดเงินสะสมประจำปีเพื่อเป็นทุนสำรอง
เงินสะสมจำนวนเท่าใด
ก  ร้อยละ 10
ข  ร้อยละ  15
ค  ร้อยละ  20
ง  ร้อยละ  25

2          ในการแต่งตั้งคณะกรรมการเก็บรักษาเงินจะต้องแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้เสมอ
            ก  รองนายกเทศมนตรี
            ข  ปลัดเทศบาล
            ค  ผู้อำนวยการคลัง
            ง  ผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ขึ้นไป

3          เงินเดือนให้วางฎีกาเบิกจ่ายเมื่อใด
            ก  ในระยะสามวันทำการก่อนสิ้นเดือน      
ข  ภายในวันที่ 15 ของเดือนนั้น
            ค  ภายในวันที่ 20 ของเดือนนั้น
            ง  ภายในวันที่ 25 ของเดือนนั้น

4          คณะกรรมการเก็บรักษาเงินต้องมีจำนวนอย่างน้อยกี่คน
            ก  2  คน
            ข  3  คน
            ค  4  คน
            ง  5  คน

5          ก่อนเบิกจ่ายเงินตามงบประมาณ หน่วยงานผู้เบิกจะต้องจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินยื่นต่อหน่วยงาน
คลังเมื่อใด
ก  ทุกเดือน
ข  ทุกสามเดือน
ค  ทุกสี่เดือน
ง  ทุกหกเดือน

พรบ. การกระจายอำนาจ ชุดที่ 3

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
ชุดที่ 3

1.       พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542               (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2549  บังคับใช้ วันที่ 9 มกราคม 2550 (ฉบับที่ 1 วันที่ 18 พ.ย.2542)
2.       คณะกรรมการตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมายความว่า คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น
3.       คณะกรรมการกระจายอำนาจฯ มีทั้งหมด 36 คน
4.       นายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5.       หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเลขานุการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พรบ. การกระจายอำนาจ ชุดที่ 2

พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2542
ชุดที่ 2
1. พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2542 บังคบใช้วันที่
ก. 16 พฤศจิกายน 2542                ข. 17 พฤษภาคม 2542
ค. 18 พฤศจิกายน 2542                ง. 19 พฤษภาคม 2542

2. พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 บังคบใช้วันที่
ก. 9 มกราคม 2549                      ข. 9 มกราคม 2550
ค. 19 มกราคม 2550                     ง. 18 พฤษภาคม 2542

3. .คณะกรรมการ. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ 2542 หมายความว่า
ก. คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข. คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ค. กรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ง. กรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. ใครไม่ได้เป็นผู้รักษาการตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ 2542
ก. นายกรัฐมนตรี                                     ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม     ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

5. คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทั้งหมดกี่คน
ก. 24 คน                        ข. 30 คน
ค. 36 คน                        ง. 42 คน

พรบ. การกระจายอำนาจ ชุดที่ 1


พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
ชุดที่ 1 

1.       พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือฉบับ พ.ศ.ใด
ก.      พ.ศ. 2532
ข.      พ.ศ. 2537
ค.      พ.ศ. 2540
ง.       พ.ศ. 2542
ตอบ ง.

2.       กรรมการจากผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อใด
ก.      พ้นจาการเป็นผู้บริหารท้องถิ่น
ข.      ยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ
ค.      ไม่มีถิ่นที่อยู่ในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ
ง.       ข้อ ก. และ ข.ถูก
ตอบ ง.

3.       คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนกี่คน
ก.      5 คน
ข.      10 คน
ค.      12 คน
ง.       15 คน
ตอบ ค.

4.       การเสนอรายงานเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเสนอต่อใคร
ก.      นายกรัฐมนตรี
ข.      คณะรัฐมนตรี
ค.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง.       ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ข. ให้เสนอรายงานเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

5.       ภาษีธุรกิจเฉพาะท้องถิ่นสามารถจัดเก็บเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละเท่าใด
ก.      ร้อยละ 7
ข.      ร้อยละ 10
ค.      ร้อยละ 20
ง.       ร้อยละ 30
ตอบ ง. จัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บตามประมวลรัษฏากร โดยเป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรที่จะจัดเก็บ

พรบ. บุคคลส่วนท้องถิ่น ชุดที่ 2


mba2 -

พรบ. บุคคลส่วนท้องถิ่น ชุดที่ 1


พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
ชุดที่ 1

1.       พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นฉบับปัจจุบัน คือฉบับใด
ก.      พ.ศ. 2535
ข.      พ.ศ. 2538
ค.      พ.ศ. 2542
ง.       พ.ศ. 2544
ตอบ ค.

2.       พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ใช้บังคับเมื่อใด
ก.      นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข.      นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค.      30 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง.       90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ ข.

3.       ใครรักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
ก.      นายกรัฐมนตรี
ข.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค.      นายกเทศมนตรี
ง.       ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ข.

4.       ข้อใด มิใช่ คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ก.      มีสัญชาติไทย
ข.      มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
ค.      ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ง.       ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
ตอบ ข. (มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์)

ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ชุดที่1


math1 -

ข้อสอบวิชาภาษาไทย ชุดที่ 2

ตัวอย่างข้อสอบเพื่อสอบบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ
วิชา ภาษาไทย ชุดที่ 2

1.       ข้อใดอ่านผิด
ก.      วิตถาร (วิด-ถาน)
ข.      วุฒิ (วุด-ทิ)
ค.      วัยวุฒิ (ไว-ยะ-วุด)
ง.       วณิพก (วะ-นิบ-พก)
ตอบ ค.วัยวุฒิ  ถูกต้องคือ (ไว-ยะ-วุด-ทิ)

2.       ข้อใดอ่านผิด
ก.      สตรี (สะ-ตรี)
ข.      สัตบุรุษ (สัด-บุ-หรุด)
ค.      สมรรถภาพ (สะ-มัด-ถะ-พาบ)
ง.       สมานฉันท์ (สะ-มา-นะ-ฉัน)
ตอบ  ก. สตรี อ่านถูกต้องคือ สัด-ตรี

3.       คำใดอ่านได้เพียงอย่างเดียว
ก.      ทุนทรัพย์
ข.      ภรรยา
ค.      ปรกติ
ง.       มูลค่า
ตอบ  ค.  ปรกติ                 อ่านว่า ปรก กะ ติ
            ทุนทรัพย์           อ่านว่า ทุน – ซับ หรือ ทุน – นะ – ซับ
            ภรรยา               อ่านว่า พัน – ยา หรือ พัน – ระ- ยา
            มูลค่า                อ่านว่า มูน – ค่า หรือ มูน – ละ - ค่า

4.       คำใดไม่อ่านแบบคำสมาส
ก.      รสนิยม
ข.      ภาพยนตร์
ค.      กรรมวิบาก
ง.       สมณเพศ
ตอบ ก. รสนิยม อ่านว่า รด-นิ-ยม ส่วนคำอื่น ๆ อ่านมีเสียงพยัญชนะและสระในพยางค์แรกต่อเนื่อง กับพยางค์หลัง

5.       ข้อใดอ่านตามคำนิยม
ก.      ทรชน
ข.      ราชวัง
ค.      วิษณุ
ง.       สมาธิ
ตอบ ข. ราชวัง ที่จริงคำนี้ต้องอ่านว่า ราด – วัง เพราะมิใช่คำสมาส แต่เป็นคำที่นิยมอ่านหรือคำสมาส

ข้อสอบวิชาภาษาไทย ชุดที่ 1

ตัวอย่างข้อสอบเพื่อสอบบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ
วิชา ภาษาไทย

1.  ข้อใดเป็นคำสรรพนาม
            ก.ฝ่ามือ                          ข.ฝ่าฝืน             ค.ฝ่าพระพักตร์               ค.ฝ่าพระบาท
2. เพราะ ในข้อใดเป็นคำกริยา
            ก.เพลงนี้เพราะกว่าเพลงอื่น                      ข.เขาร้องเพลงเพราะมาก
            ค. เขาชอบเพลงเพราะ ๆ                           ง.ปลาหมอตายเพราะปาก
3.  ข้อใดเป็นเสียงวรรณยุกต์โททั้งหมด
            ก.จุ้นจ้าน คบค้า                           ข.ฟ้าร้อง  หน้าแล้ง
            ค.อ้างว้าง  เศร้าสร้อย                    ง.เครื่องต้น  ซาบซ่าน      
4.  ต่อ ข้อใดเป็นบุพบท
            ก.เขาเล่าต่อไปเรื่อย ๆ                   ข.คุณอากำลังต่อโทรศัพท์
            ค.น้ำประปารั่วตรงข้อต่อ               ง.เขานั่งคุยกันสองต่อสอง
5.  คำว่า ผ้าคลุม ในข้อใด เป็นคำประสมเพียงอย่างเดียว
            ก.หยิบผ้าคุลมโทรทัศน์ซิ              ข.ผ้าคลุมผืนนี้สวยมากนะ
            ค.ลมแรงเอาผ้าคลุมผมเสีย            ง.ทำไมต้องเอาผ้าคลุมด้วยละ