ads

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

เทคนิคการเตรียมตัวสอบบรรจุเป็นข้าราชการ

เทคนิคการเตรียมตัวสอบบรรจุเป็นข้าราชการ

 1. เตรียมตัวอย่างไรให้พร้อมสำหรับการสอบ 
1.1 จัดหาเอกสารหรือหนังสือสำหรับเตรียมสอบ วิธีการหาหนังสือหรือเอกสารเตรียมสอบ มีดังนี้
  • หนังสือหรือเอกสารมีเนื้อหาที่ตรงตามหลักสูตรสอบแข่งขันฯ
  • เลือกหนังสือทั้งที่เป็นเนื้อหาโดยละเอียด เนื้อหาสรุปและหรือหนังสือที่เป็นแบบฝึก
  • ควรเลือกหนังสือภาคความรู้ทั่วไป พร้อมทั้งมีตัวอย่างแบบฝึกและข้อสอบ
  • หนังสือรวมข้อสอบฯ หรือหนังสือที่มีตัวอย่างข้อสอบให้ฝึกทำ ก็เป็นสิ่งจำเป็นควรมีไว้เพื่อฝึกทักษะการทำข้อสอบ เพื่อเป็นการทบทวนความรู้

การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ


การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ

ภาค ก. หรือมีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า ภาคความรู้ความสามารถทั่วไปการสอบจะกำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ 100 คะแนน   ซึ่งจะแบ่งเนื้อหาขอบเขตของข้อสอบ ภาค ก. ได้ดังนี้

      (๑) วิชาสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมุติฐาน เช่น  การหาค่าของเลขอนุกรม , การหาร้อยละ , โจทย์เงื่อนไขทางคณิตศาสตร์ , การอ่านค่าจากตาราง กราฟ แผนภูมิ 

วิธีทำข้อสอบภาษาไทย

บทความสั้น   ดูกลุ่มคำที่สำคัญดังนี้


1.       ถามประโยคสำคัญดูคำต่อไปนี้  ทำให้  ปรากฏ  เกิดขึ้น  เกิดจาก  บรรลุผล  สำเร็จตามเป้าหมาย  แต่  หรือคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำเหล่านี้      (ทำให้ + ประโยคสำคัญ)   กรณีที่บทความสั้นมีคำกริยาสำคัญอยู่หลายคำที่ซ้ำกันให้ดูกริยาตัวสุดท้าย เช่นถ้ามีคำว่าทำให้อยู่หลายตัว ให้ดูคำว่าทำให้ตัวสุดท้าย  (ถ้าในบทความมีคำว่า “เพราะ” มากกว่าหนึ่งคำให้ดูคำว่า “เพราะ”   ตัวแรก  ถ้ามีคำว่า “ทำให้” หรือกริยาสำคัญตามข้อ 1 นี้ ให้ดูคำว่า ”ทำให้” หรือ กริยาสำคัญ ตัวสุดท้าย  ถ้ามีคำว่า ”เพราะ” และคำว่า “ทำให้” อยู่ในบทความเดียวกันให้ดูคำว่า “ทำให้” หลังคำพวกนี้คือคำตอบ

ความสามารถทางด้านเหตุผล

ความสามารถทางด้านเหตุผล

แนวข้อสอบอุปมาอุปมัย

1.       ศาล : ความยุติธรรม                .......  :  …….
ก.ทนายความ ลูกความ                           ข.อัยการ : โจทก์
ค.วุฒิสภา : ส.ส.                                      ง.รัฐสภา : กฎหมาย
ตอบ ง.รัฐสภา : กฎหมาย

2.       รัสเซีย : หมีขาว                           .......  :  …….
ก.แคนนาดา : นกอินทรีย์                          ข.สิงคโปร์ : ปลาโลมา
ค.ออสเตเลีย : จิงโจ้                                  ง.ญี่ปุ่น : สิงโต
ตอบ ค.ออสเตเลีย : จิงโจ้  

3.       กระดานดำ : ชอล์ก                         .......  :  …….
ก.ปากกาเคมี : ไวท์บอร์ด                          ข.กระดาษ : ดินสอ
ค.ดิสเก็ต : โปรแกรมเมอร์             ง. บทกลอน : กวี
ตอบ ข.กระดาษ : ดินสอ

4.       ไฟฉาย : ลูกเสือ                           .......  :  …….
ก.ตะเกียง :  ทหาร                                   ข.ประภาคาร : เรือดำน้ำ
ค.เรดาร์ :  เครื่องบิน                                 ง.ไต้ : ชาวเขา
ตอบ ง.ไต้ : ชาวเขา

5.       ประทุน :  เรือแจว                        .......  :  …….
ก.หลังคา : เสา                                        ข.ใบไม้ : ต้นไม้
ค.ร่ม : คน                                              ง.โบสถ์ : พระภิกษุ
ตอบ ค.ร่ม : คน

สรุปเหตุผลทางการเมือง

แนวข้อสอบเก่า ภาค ก. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง

1.       ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ข้อใด ไม่ใช่ ราชการส่วนท้องถิ่น
ก.องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)                      ข. ตำบล  และหมู่บ้าน
ค. กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา                       ง. เทศบาล
ตอบ ข. (เป็นหน่วยงานที่รองลงไปจากอำเภอ ซึ่งอำเภอเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค)

2.       พื้นที่ตำบลใดที่ปกครองโดยองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ต่อมาเมื่อมีประชากรหนาแน่น และมีความเจริญในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทางราชการจะต้องยกฐานะให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่นแบบใด
ก.เทศบาลตำบล                           ข. เทศบาลเมือง              
ค.สุขาภิบาล                                ง.องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
ตอบ ก. (จาก องค์การบริหารส่วนตำบล ไปเป็นเทศบาลตำบล  เทศบาลเมือง  เทศบาลนคร ตามลำดับ)

3.       การบริหารราชการแผ่นดินของไทยประเภทใด กฎหมายให้อำนาจคณะรัฐมนตรีเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
ก. ระเบียบบริหาราชการส่วนกลาง             ข. ระเบียบบริหาราชการส่วนภูมิภาค
ค. ระเบียบบริหาราชการส่วนท้องถิ่น                      ง. ระเบียบบริหารราชการรัฐวิสาหกิจ
ตอบ ค. (ระเบียบบริหาราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการกระจายอำนาจการบริหารและการปกครองให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นของตน)

ความสามารถทั่วไป ชุด 2

ข้อสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป

                                                                        ชุดที่ 2

1.      สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนมีจำนวนกี่คน
            ก  80  คน
            ข  100  คน
            ค  150  คน
            ง  200  คน

2. วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
            ก  80  คน
            ข  100  คน
            ค  150  คน
            ง  200  คน

3    ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียน
บ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันถึงวันสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากี่ปี
            ก  1  ปี
            ข  2  ปี
            ค  3  ปี
            ง  5  ปี

4          ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาต้องมีอายุไม่น้อยกว่ากี่ปี
            ก  25  ปี
            ข  30  ปี
            ค  35  ปี
            ง  40  ปี

5          คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีกจำนวนไม่เกินกี่คน
            ก  29  คน
            ข  30  คน
            ค  35  คน
            ง  36  คน

ความสามารถทั่วไป ชุด 1

ข้อสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป

                                                                        ชุดที่ 1

1.      ทุกสิ้นปีงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องกันยอดเงินสะสมประจำปีเพื่อเป็นทุนสำรอง
เงินสะสมจำนวนเท่าใด
ก  ร้อยละ 10
ข  ร้อยละ  15
ค  ร้อยละ  20
ง  ร้อยละ  25

2          ในการแต่งตั้งคณะกรรมการเก็บรักษาเงินจะต้องแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้เสมอ
            ก  รองนายกเทศมนตรี
            ข  ปลัดเทศบาล
            ค  ผู้อำนวยการคลัง
            ง  ผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ขึ้นไป

3          เงินเดือนให้วางฎีกาเบิกจ่ายเมื่อใด
            ก  ในระยะสามวันทำการก่อนสิ้นเดือน      
ข  ภายในวันที่ 15 ของเดือนนั้น
            ค  ภายในวันที่ 20 ของเดือนนั้น
            ง  ภายในวันที่ 25 ของเดือนนั้น

4          คณะกรรมการเก็บรักษาเงินต้องมีจำนวนอย่างน้อยกี่คน
            ก  2  คน
            ข  3  คน
            ค  4  คน
            ง  5  คน

5          ก่อนเบิกจ่ายเงินตามงบประมาณ หน่วยงานผู้เบิกจะต้องจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินยื่นต่อหน่วยงาน
คลังเมื่อใด
ก  ทุกเดือน
ข  ทุกสามเดือน
ค  ทุกสี่เดือน
ง  ทุกหกเดือน